เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์
(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่ง
การตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน
อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ตามรักษาสมาธินิมิต ที่ชัดดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว คือ
อัฏฐิกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน)
ปุฬุวกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด) วินีลกสัญญา
(กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่าง ๆ) วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมาย
ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก) วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมาย
ซากศพที่ขาดจากกันเป็น 2 ท่อน) อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่า
พองขึ้นอืด) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน

11
ญาณ (ความรู้) 4

1. ธัมมญาณ (ความรู้ในธรรม)
2. อันวยญาณ (ความรู้ในการคล้อยตาม)
3. ปริยญาณ (ความรู้ในการกำหนดจิตของผู้อื่น)
4. สัมมติญาณ (ความรู้ในสมมติ)

12
ญาณ 4 อีกนัยหนึ่ง

1. ทุกขญาณ (ความรู้ในทุกข์)
2. ทุกขสมุทยญาณ (ความรู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :285 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

3. ทุกขนิโรธญาณ (ความรู้ในความดับแห่งทุกข์)
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์)

13
[311] องค์แห่งการบรรลุโสดาบัน1 4

1. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
2. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)
3. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)

14
องค์แห่งพระโสดาบัน2 4
พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
2. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระ
ธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/248/368
2 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/159/103, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/52/86-87

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :286 }